“50 ข้อคิด” มุมมองเพื่อความเข้าใจในชีวิต

50ข้อคิด 

มุมมองเพื่อความเข้าใจในชีวิต

1. เมื่อเด็กกำลังเติบโตเป็นวัยรุ่น มีความต้องการเป็นตัวของตัวเองสูง ผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าใจและใจแคบมักจะมองว่าเด็กดื้อ

2. คนเราจิตตกได้เป็นครั้งคราว อาจทำอะไรที่ไม่เหมาะสมได้ การรู้ตัวเองและให้อภัยตัวเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญ

3. คนอกหักไม่อาจตัดความโศกเศร้าได้ด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียว เวลาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเยียวยาความรู้สึกดังกล่าว

4. ให้เคารพแนวคิดของผู้อื่นบ้าง เสมือนหนึ่งเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ต่างไปจากเราเท่านั้นเอง

5. ตนเองเสียเมื่อไหร่ที่คิดดี คิดชอบเป็นอยู่คนเดียว

6. ทำไปเพราะไม่รู้ ให้อภัยกันได้ รู้แล้วยังทำ คือ ความดื้อ

7. ก่อนที่จะว่ากล่าวถึงนิสัยไม่ดีของลูกนั้น ให้มองตัวพ่อแม่เองก่อนด้วยว่า เรามีส่วนผลักดันให้เขาเป็นเช่นนั้นด้วยหรือเปล่า

8. ความทุกข์ของมนุษย์ 100% เกิดจากการพยายามฝืนความจริงของธรรมชาติ

9. หากต้องอยู่กับคนที่ไม่เกรงใจกันเลย พูดกับเขาให้น้อยลง เล่นกับเขาให้น้อยลง

10. หากอยากได้อะไร ก็ควรเสียอะไรบ้าง

11. ถ้าเราปล่อยให้โลก เร่งตัวเรา ควบคุมตัวเรา จนเราขาดอิสระภาพ เราก็จะทุกข์ ถ้าเราจะเร่งโลก ควบคุมโลกให้โลกนี้เป็นไปตามความต้องการของเรา เราก็ทุกข์เช่นกัน

12. ความฉลาดอาจหลอกคนได้ ความจริงใจต่างหากที่จะชนะใจคน

13. การให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์มากไป ทำให้เราลืมธรรมชาติ ลืมความเป็นจริงได้ง่าย

14. อารมณ์เป็นตัวกำหนดความคิด ความคิดกำหนดพฤติกรรม หากจะเข้าใจพฤติกรรมของคนให้ถูกต้อง จึงต้องอ่านอารมณ์ให้ออก

15. การมองอะไร ว่าดี ว่าเลว ขึ้นกับว่าอารมณ์ของเราขณะนั้นเป็นอย่างไร

16. ทำอะไรก็แล้วแต่ ควรมีหลักการบ้าง แต่ต้องระวังอย่ายึดเป็นกฎเกินไป

17. อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิดเป็นคำพื้นๆ ที่ใช้มาเตือนสติเราได้ดีตลอดกาล

18. การพยายามทำอะไรทุกอย่างให้ได้ การสงสัยอะไรทุกเรื่องเป็นความโง่ได้ก็เพราะว่าเรื่องต่างๆ ในโลกนี้มีตั้งหลายเรื่องที่ใช่ว่าเราจะรู้มันได้ง่ายและเรื่องอีกหลายเรื่องก็ไม่จำเป็นที่ต้องตอบให้ได้ด้วย

19. คุณธรรมส่อคุณค่าของมนุษย์มากกว่าความฉลาด

20. อะไรก็ตามแต่แม้ว่ามันจะจริง จะถูกต้อง แต่ถ้าการพูดออกไปนั้น มันไม่มีประโยชน์มีแต่ผลเสีย อย่าพูดดีกว่า

21. การขาดความเกรงใจต่อกัน ทำให้เราทะเลาะกันได้ง่าย การมีความเกรงใจต่อกันที่มากเกินไป ก็ทำให้เราไม่เป็นตัวของตัวเอง

22. ใครที่เขากล้าพูดความจริงกับเราออกมา นั่นก็เพราะเขามีความเชื่อมั่นว่าเราจะยอมรับเขาได้

23. การฝึกวินัยให้กับลูกนั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นการฝึกวินัยให้กับพ่อแม่ด้วย

24. หากลูกเป็นคนเฉื่อยชา เราคงต้องช่วยกระตุ้นให้กำลังใจ หากลูกเป็นคนเอาจริงเอาจังเกินไป เราคงต้องช่วยสอนให้ลูกได้ปล่อยวางบ้าง กฎเกณฑ์การเลี้ยงลูกของคนๆ หนึ่ง จึงไม่เหมือนของอีกคนๆหนึ่ง

25. เมื่อคิดจะเสนอความคิดเห็นต่างๆ ที่มองว่าดี ต้องมองถึงความเป็นจริง ความเป็นไปได้ด้วยเสมอ

26. แต่ละคนมีศักยภาพของตัวเองอยู่แล้ว เราจึงควรต้องให้เกียรติต่อกันบ้าง

27. เมื่อเป็นคนก้าวร้าวคนอื่นไม่เป็น ก็มักจะถูกคนอื่นรุกรานได้ง่ายเช่นกัน

28. ถ้าเราเชื่อเรื่องกรรม การตายก็ไม่ใช่วิธีการหนีปัญหาได้ตลอดไป เนื่องจากกรรมนั้นๆ ยังไม่ได้ชดใช้ จนหมดวาระในตัวของมันเอง เกิดชาติหน้า กรรมเก่าก็จะติดตัวต่อไปอยู่ดี

29. การมองปัญหาในแง่มุมต่างกัน ในจุดต่างกันจะทำให้เข้าใจปัญหาได้ต่างกัน

30. เราจะให้อภัยตัวเอง กับผู้อื่นได้นั้น เราต้องเข้าใจในตัวเองและผู้อื่นได้ก่อน

31. การแก้ปัญหาทางบุคลิกภาพต้องอาศัยทั้งความจริงใจและการอดทนเป็นอย่างยิ่ง

32. ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นเรื่องที่ดี แต่..ปัจจัยแห่งความสำเร็จนั้นก็หาได้ขึ้นอยู่กับเราคนเดียวไม่

33. เวลาที่พ่อแม่จะสะกิดฝีหนองให้ลูกนั้น พ่อแม่เองก็เจ็บปวดไม่น้อย

34. บางครั้งเราต้องการให้คนอื่นมาเข้าใจเรา มากกว่าที่เราอยากจะเข้าใจตัวเอง นั่นก็เพราะว่า เรายังเป็นมนุษย์ที่ยังมีความอ่อนแออยู่บ้าง

35. เรื่องที่คนเราประทับใจ มักจะลืมเลือนได้ยาก ก็เนื่องจากความประทับใจ ไม่ใช่ความจำนั่นเอง

36. จะมีเราอยู่…..เขาก็เป็นอย่างนั้น
ไม่มีเราอยู่…..เขาก็เป็นอย่างนั้น

37. หากเขาคิดจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง จริงๆ แล้ว เราเป็นได้แค่เพียงตัวกระตุ้นเท่านั้น

38. ถ้าเราเรียนรู้ธรรมะด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียว เราจะสัมผัส “การรู้” ได้ยากยิ่ง

39. ความสับสนในชีวิดมันเกิด ควรหาที่ยึดเหนี่ยวให้จิตใจได้พักเสียบ้าง

40. เรื่องของชีวิต มันมีจังหวะที่ต้องรอคอยอยู่บ้าง จะเรียกร้องให้มันได้ดั่งใจเสมอไปได้อย่างไร ความจริงใจ หากถูกแปลเป็นแง่ลบแล้ว ใครยังอยากจะกล้าจริงใจให้อีก

41. เพราะความอยาก..มันถึงได้วุ่นวายกันเพียงนี้

42. ไม่ใช่ว่า ห้ามโกรธ แต่ให้รู้ว่าโกรธ ไม่ใช่แสดงความโกรธแต่ให้พูดออกมาว่าโกรธ

43. จิตและอารมณ์เป็นของแท้ ความคิด คือ ตัวปรุง

44. หากเชื่อว่า “การบ่น” จะทำให้ลูกนิสัยดีขึ้นก็น่าจะลองดู ในเมื่อความเป็นจริงนั้น “การบ่น” มักจะยิ่งทำให้ลูกแย่ลงมากกว่าเดิมเสียอีก

45. ใครเขาจะเป็นอย่างไรก็ช่าง มันอยู่ที่..เรารู้สึกอย่างไรด้วยต่างหาก

46. หากพ่อแม่คาดหวัง อยากจะให้ลูกเป็นคนดีนั้น พ่อแม่ต้องช่วยให้ลูกเป็นคนดีด้วย (อย่าเพียงแต่หวัง)

47. พ่อแม่ หากมีความรักลูกมากไปแล้ว ก็ยากที่จะสอนวินัยให้กับลูกได้ดี

48. การเข้าใจคนอื่นได้ เป็นเรื่องที่ดี การเข้าใจตนเองได้ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี เรื่องที่แย่ และก่อให้เกิดทุกข์ได้มากก็ คือรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจเราเลย

49. กังวล เกินกว่าเหตุ..เชื่อมั่น มากเกินไป..ล้วนเป็นสิ่งที่เราต้องรู้จักตนเองอยู่เสมอ

50. การเร่งแก้ปัญหา โดยรีบคิดให้ตกทันที จะยิ่งสร้างปัญหาทางอารมณ์ได้มากยิ่งขึ้น

ศาสนพิธี

ความหมายของคำว่า “ศาสนพิธี”
ศาสนพิธี คือ พิธีกรรมหรือระเบียบแบบแผนต่างๆที่ดีงาม ที่พึงปฏิบัติในทางพระศาสนา ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องห่อหุ้มศาสนาไว้ไห้ ศาสนิกชนทั่วไปได้เห็นและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้พิธีกรรมต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของผู้พบเห็นและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านจิตใจของผู้นับถือพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิดศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนามากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวพุทธ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวพุทธ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวพุทธและคนไทยจะต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องศาสนพิธี

ประเภทของศาสนพิธี
ศาสนพิธีโดยสรุปแบ่งออกได้เป็น 4 หมวด คือ
1. หมวดกุศลพิธี ว่าด้วย พิธีบำเพ็ญกุศล ได้แก่ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษาศีลอุโปสถ พิธีเวียนเทียน เป็นต้น
2. หมวดบุญพิธี ว่าด้วย พิธีบำเพ็ญบุญ ได้แก่ พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
3. หมวดทานพิธี ว่าด้วย พืธีถวายทาน ได้แก่ ทานวัตถุ ๑๐ อย่าง
4. หมวดปกิณณกะ ว่าด้วย พิธีเบ็ดเตล็ด ได้แก่ พิธีแสดงความเคารพ การประเคนของ การกรวดน้ำ และคำอาราธนาคำถวายทานต่างๆ

ประโยขน์ขององค์ประกอบศาสนพิธี
1. ประโยชน์ทางใจ ช่วยให้เกิดคุณธรรมขึ้นในตัวผู้ปฏิบัติ ได้แก่
1.1 ความมีสติ
1.2 ความสามัคคี
1.3 ความเป็นระเบียบประณีตงดงาม
1.4 เกิดความชุ่มชื่นเบิกบานใจ
1.5 เกิดความฉลาด
2. เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของชาติ ที่ไม่มีชาติใดเหมือน แสดงถึงความเป็นไท มิใช่ทาสของชาติใด ทั้งยังป้องกันมิให้ชาติถูกลืม ๓. มีส่วนช่วยธำรงพระพุทธศาสนา ศาสนพิธีเป็นขั้นตอนชักจูงให้ผู้ปฏิบัติซาบซึ้ง เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีใจมุ่งมั่นที่จะศึกษาแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาในขั้นลึกต่อไปได้ด้วยดี

             กงเกวียน  กำเกวียน  เวียนวนหมุน
ดั่งบาป,บุญ  หนุนนำ  กรรมเคลื่อนไหว
สัจธรรม  สังวร  สอนเวไนย
ทำอะไร  มักบันดล  ผลนั้นมา

บางสิ่งอาจ  ไม่ชัดเจน  เห็นยามนี้
แต่คงชี้  ดี,ร้าย  เมื่อภายหน้า
คือกฎเกณฑ์  วัฏฏะ  กติกา
ย่อมตรึงตรา  ติดตัว  ทั้งชั่ว,ดี

ตัดความโลภ  โกรธ,หลง  ปลงให้ตก
ขุมนรก  สวรรค์รู้  อยู่ถ้วนถี่
อย่าระเริง  เหิมท้า  อเวจี
ทางชีวี  ควรสะอาด  ปราศราคิน

ยามชีพวาย  กายวอด  มอดแม้เถ้า
ใช่จะเอา  ไปได้  ในทรัพย์สิน
เหลือประวัติ  ให้คน  ได้ยลยิน
สร้างมลทิน  กันไย  โปรดไตร่ตรอง

อันหัวโขน  สวมเห็น  เป็นมนุษย์
เพียงสมมุติ  ยกเรา  แทนเจ้าของ
แท้จริงนั่น  ภาพแสร้ง  แกล้งจำลอง
เลิกลำพอง  งวยงง  จงละลด

ธรรมดา  นรชาติ  มิอาจพ้น
รวยหรือจน  สุดท้าย  ล้วนตายหมด
ไม่เลือกเพศ  ผิวพรรณ  แบ่งชั้นยศ
ต่างต้องชด  ใช้กรรม  ที่ทำไว้

100_7753

วันเดือนปีคล้อยเคลื่อน เลื่อนผ่าน ไปตามกาล
สังขารคน กะเปลี่ยนไป โดยด้าม
หน้าเคยงามกะเลยย่น ผิวเคยใส กะเลยหม่น
คนเอ๋ยคนบ่มีฝืนผ่านได้ คือคำท่าน พุทธองค์
สงสารวัฏนั้นของแท้ เกิดแก่ เจ็บตาย
หากบ่หมายพานพบ ให้พากเพียร หลุดพ้น
อย่าสิสาละวนย้อน เกาะดึง เกี้ยวก่าย
ละอบายกิเลสกลั้ว พามัวกุ้ม บ่ส่องใส
ทุกข์ทั้งมวลจงถิ่มไว้ อย่ามัวห่วง สิหลงทาง
มรรคแปดวางให้เฮาไป เจ้าจ่งเดิน ให้ถึงเป้า
เอานิพพานเป็นที่ตั้ง ปล่อยทางหลัง เจ้าอย่าห่วง
ดวงปัญญาอยู่เบื้องหน้า อย่ารอซ้า ให้ดุ่งเดิน  หมู่เอ้ย…

10708254_276928545840149_853810220_n

ธรรมะประจำวัน

10600548_510078815794630_8353110969045439227_n

มีคนไม่ใช่น้อยที่เรียนรู้มากมาย อะไรดีอะไรชั่ว รู้ทั้งนั้น แต่ไม่ทำดี หรือทำก็ทำสิ่งไม่ดี เรียกว่า ใช้ความรู้นั้นช่วยตนเองไม่ได้ ก็เพราะขาดความเคารพในธรรมที่รู้ คือไม่ปฏิบัติให้สมควรแก่ ความรู้นั่นเอง